.

งานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน
โรงเรียนบ้านเขาหินซ้อน(พัฒนาการภาคตะวันออก) จังหวัดฉะเชิงเทรา รหัสสมาชิก 7-24120-001

จำปา
จำปา
เลขทะเบียน :
113
รหัสพรรณไม้ :
7-24120-001-113
ชื่อท้องถิ่น :
จำปา
ลักษณะวิสัย :
ไม้ต้น
ชื่อทั่วไป :
จำปาเขา(ตรัง),จำปาทอง (นครศรีธรรมราช),จำปาป่า(สุราษฎร์ธานี)
ชื่อวิทยาศาสตร์ :
Michelia champaca   L.
วงศ์ :
MAGNOLIACEAE
ชื่อสามัญ :
Champak, Orange Chempaka, Sonchampa
ลักษณะเด่นของพืช :
ดอก เดี่ยว สีเหลืองส้ม ออกตามง่ามใบ มีกลีบเลี้ยงและกลีบดอกรวมกัน 12–15 กลีบ
ลักษณะราก :
-
จำปา
ลักษณะลำต้น :
จำปาเป็นไม้ต้น สูง 10–30 ม. เรือนยอดเป็นพุ่มโปร่ง ลำต้นเปลาตรง เปลือกต้นสีขาวปนเทา ค่อนข้างเรียบ ยอดอ่อนมีหูใบหุ้ม
ลักษณะใบ :
ใบ เดี่ยว เรียงเวียนสลับ แผ่นใบรูปรีแกมขอบขนาน ถึงรูปใบหอก กว้าง 4–10 ซม. ยาว 5–20 ซม. ปลายใบแหลมถึงเรียวแหลม โคนใบกลม มน หรือสอบ เส้นแขนงใบ 16–20 คู่ ก้านใบยาว 2–4 ซม.
ลักษณะดอก :
ดอก เดี่ยว สีเหลืองส้ม ออกตามง่ามใบ มีกลีบเลี้ยงและกลีบดอกรวมกัน 12–15 กลีบ กลีบด้านนอกรูปหอกกลับ ยาว 4–4.5 ซม. กว้าง 1–1.5 ซม. ปลายเรียวแหลม กลีบดอกชั้นในสั้นและแคบกว่าชั้นนอก เกสรเพศผู้มีจำนวนมาก รังไข่รวมกันเป็นแท่ง ก้านดอกยาว 1–2 ซม.
ลักษณะผล :
ผล รูปรี หรือรูปไข่ เปลือกแข็ง ขนาดยาว 1–2 ซม. ออกเป็นกลุ่ม เปลือกผลมีจุดสีขาวขรุขระโดยรอบ ผลแก่สีน้ำตาล แตกด้านข้าง เมล็ดสีดำ ค่อนข้างกลม เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 0.5 ซม. เยื่อหุ้มเมล็ดสีแดงส้ม
ประโยชน์ :
เปลือก แก้ไข้ ไม้ เป็นยาบำรุงประจำเดือนสตรี ใช้ในการก่อสร้าง ใบ แก้โรคประสาท ดอก เป็นยาบำรุงหัวใจ ดอกและผล แก้คลื่นเหียน แก้ไข้ ขับปัสสาวะ
   
จำปา
จำปา
จำปา
จำปา
จำปา
จำปา

 

จัดทำฐานข้อมูล โดย อ.ณรงค์ศักดิ์ เจริญสิทธิชัย โรงเรียนบ้านเขาหินซ้อน(พัฒนาการภาคตะวันออก)