.

งานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน
โรงเรียนบ้านเขาหินซ้อน(พัฒนาการภาคตะวันออก) จังหวัดฉะเชิงเทรา รหัสสมาชิก 7-24120-001

ฐานข้อมูลพรรณไม้โรงเรียนบ้านเขาหินซ้อน(พัฒนาการภาคตะวันออก)

ฐานข้อมูลพรรณไม้รายต้น

ตะเคียน

เลขทะเบียน :
12
รหัสพรรณไม้ :
7-24120-001-12
ชื่อท้องถิ่น :
ตะเคียน
ลักษณะวิสัย :
ไม้ต้น
ชื่อทั่วไป :
ตะเคียนทอง,ตะเคียนใหญ่(กลาง),แคน(อีสาน),เคียน(ใต้)
ชื่อวิทยาศาสตร์ :
Hopea odorata   Roxb.
วงศ์ :
DIPTEROCARPACEAE
ชื่อสามัญ :
Iron Wood
ลักษณะเด่นของพืช :
ใบ เป็นใบเดี่ยวรูปไข่แกมรูปหอก หรือรูปดาบ เนื้อใบค่อนข้างหนา ปลายใบเรียว โคนใบมนป้านและเบี้ยว หลังใบมีตุ่มเกลี้ยง ปลายโค้งแต่ไม่จรดกัน
ลักษณะราก :
-
ตะเคียน
ลักษณะลำต้น :
เป็นไม้ต้นขนาดใหญ่ สูง 20-40 เมตร โตวัดรอบถึงหรือกว่า 300 ซม. ไม่ผลัดใบ ลำต้นเปลา ตรง เปลือกสีน้ำตาลคล้ำหรือบางทีออกสีดำ และจะมีชันสีเหลืองเกาะอยู่ตามรอยแตกของเปลือกทั่วไป ต้นเล็กเปลือกจะเรียบ แต่พอเป็นต้นใหญ่เปลือกจะแตกเป็นสะเก็ด เรือนยอดแน่นทึบเป็นพุ่มกลมหรือกรวย กิ่งอ่อนเกลี้ยง
ลักษณะใบ :
เป็นใบชนิดเดี่ยว ติดเรียงสลับ ทรงใบรูปไข่ แกมรูปหอก เกลี้ยงเป็นมัน เนื้อใบค่อนข้างหนา ปลายใบเรียว ส่วนโคนใบมนป้านและเบี้ยว ท้องใบจะมีตุ่มหูดหรือตุ่มดอมเมเซียเกลี้ยงๆ อยู่ตามง่ามแขนงใบ
ลักษณะดอก :
ดอก เล็ก สีขาวหรือเหลืองอ่อนๆ กลิ่นหอม ออกรวมกันเป็นช่อโตๆ ตามง่ามใบ ดอกจะติดเรียงกันเป็นแถวบนก้านแขนงช่อ และทุกส่วนของช่อจะมีขนนุ่มสีเทาๆ ทั่วไป ทั้งกลีบฐานดอกและกลีบดอกมีอย่างละ 5 กลีบ
ลักษณะผล :
ผล กลมหรือรูปไข่เกลี้ยงๆ ยาวไม่เกิน 1 ซม. มีปีกยาวรูปใบพาย 1 คู่ ปลายปีกว้างแล้วจะค่อยๆ สอบเรียวมาทางโคนปีก และมีเส้นตามยาวของปีก ๆ ละ 7 เส้น นอกจากนี้ยังมีปีกสั้นๆ อีก 3 ปีก ปีกเหล่านี้จะมีหน้าที่ห่อหุ้มตัวผลและสามารถพาผลปลิวไปได้ไกลออกไปจากต้นแม่
ประโยชน์ :
แก่น มีรสขม แก้คุดทะราด ขับเสมหะ แก้กำเดา เนื้อไม้ แข็งทนทาน ใชัในการก่อสร้าง ยอด บดเป็นผง รักษาบาดแผล
ผู้บันทึกข้อมูล :
อ.ณรงค์ศักดิ์ เจริญสิทธิชัย
ดูภาพขนาดจริง :
พิมพ
รูปแบบที่ 1 | รูปแบบที่ 2

กลับหน้าเมนูหลัก

จัดทำฐานข้อมูล โดย อ.ณรงค์ศักดิ์ เจริญสิทธิชัย โรงเรียนบ้านเขาหินซ้อน(พัฒนาการภาคตะวันออก)