.

งานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน
โรงเรียนบ้านเขาหินซ้อน(พัฒนาการภาคตะวันออก) จังหวัดฉะเชิงเทรา รหัสสมาชิก 7-24120-001

ฐานข้อมูลพรรณไม้โรงเรียนบ้านเขาหินซ้อน(พัฒนาการภาคตะวันออก)

ฐานข้อมูลพรรณไม้รายต้น

ขันทองพยาบาท

เลขทะเบียน :
133
รหัสพรรณไม้ :
7-24120-001-133
ชื่อท้องถิ่น :
ขันทองพยาบาท
ลักษณะวิสัย :
ไม้ต้น
ชื่อทั่วไป :
มะดูกดง,ขัณฑสกร,ช้องร้อง,สลอดน้ำ,มะดูก,หมากดูก,กระดูก,ยามปลูก
ชื่อวิทยาศาสตร์ :
Suregada multiflorum   (A.Juss.) Baill.
วงศ์ :
EUPHORBIACEAE
ชื่อสามัญ :
-
ลักษณะเด่นของพืช :
ผล กลมรีกว้างประมาณ 1.8 – 2 เซนติเมตร และยาวประมาณ 8 – 10 เซนติเมตร ตรงปลายกลมและแข็งจะมีเส้นตามความยาว
ลักษณะราก :
-
ขันทองพยาบาท
ลักษณะลำต้น :
ขันทองพยาบาท เป็นพรรณไม้ยืนต้นขนาดกลาง กิ่งก้านค่อนข้างกลม จะมีสีเทาเกลี้ยง หูใบเล็กหลุดร่วงได้ง่าย
ลักษณะใบ :
เป็นใบเดี่ยว หนาแข็งดกทึบ จะออกตรงข้ามกันเป็นคู่ ๆ รูปใบหอกแกมขอบขนานกว้าง ประมาณ 4 – 8 เซนติเมตร ยาวประมาณ 8 – 16.5 เซนติเมตร ตรงปลายใบจะแหลมหรือมน โคนใบแหลม ขอบใบจักเป็นซี่ฟัน เนื้อใบจะหนามีลักษณะคล้ายแผ่นหนัง เส้นในมีทั้งหมดประมาณ 14 – 16 คู่ และก้านใบยาวประมาณ 0.9 – 1.6 เซนติเมตร เป็นร่องลึก
ลักษณะดอก :
ดอก จะออกเป็นช่อกระจาย ยาวประมาณ 16 – 18 เซนติเมตร ใบประดับหูยาวประมาณ 0.1 เซนติเมตร ตรงปลายจะแหลมก้านดอกย่อยยาว 0.1 – 0.2 เซนติเมตร และกลีบรองดอกจะมี 5 กลีบ เรียงซ้อนกันลักษณะคล้ายรูปไข่หรือรูปหอกยาว ประมาณ 0.1 เซนติเมตร ขอบจักเป็นซี่ฟัน กลีบดอก 5 กลีบ รูปขอบขนาน กว้าง ประมาณ 0.6 – 0.7 เซนติเมตร และยาวประมาณ 0.3 เซนติเมตร ตรงโคนสอบแคบ เกสรตัวผู้มี 3 อัน เชื่อมติดกันที่โคน อับเรณูค่อนข้างกลมยอดเกสรตัวเมียจะมี 3 พู เมล็ด (ผล)
ลักษณะผล :
ผล กลมรีกว้างประมาณ 1.8 – 2 เซนติเมตร และยาวประมาณ 8 – 10 เซนติเมตร ตรงปลายกลมและแข็งจะมีเส้นตามความยาว เมื่อผลแก่จะแตกตรงรอยประสานตรงกลาง ส่วนเมล็ดมีลักษณะแบนความกว้างประมาณ 0.2 เซนติเมตร ยาวประมาณ 1 เซนติเมตร
ประโยชน์ :
เปลือก เป็นยาบำรุงเหงือกและฟัน เป็นยาถ่ายและรักษาโรคตับ
ผู้บันทึกข้อมูล :
อ.ณรงค์ศักดิ์ เจริญสิทธิชัย
ดูภาพขนาดจริง :
พิมพ
รูปแบบที่ 1 | รูปแบบที่ 2

กลับหน้าเมนูหลัก

จัดทำฐานข้อมูล โดย อ.ณรงค์ศักดิ์ เจริญสิทธิชัย โรงเรียนบ้านเขาหินซ้อน(พัฒนาการภาคตะวันออก)