.

งานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน
โรงเรียนบ้านเขาหินซ้อน(พัฒนาการภาคตะวันออก) จังหวัดฉะเชิงเทรา รหัสสมาชิก 7-24120-001

ฐานข้อมูลพรรณไม้โรงเรียนบ้านเขาหินซ้อน(พัฒนาการภาคตะวันออก)

ฐานข้อมูลพรรณไม้รายต้น

หามกราย

เลขทะเบียน :
137
รหัสพรรณไม้ :
7-24120-001-137
ชื่อท้องถิ่น :
หามกราย
ลักษณะวิสัย :
ไม้ต้น
ชื่อทั่วไป :
มะขามกราย, หนามกราย, หามกราย (นครราชสีมา, ชลบุรี);กำจาย (เชียงใหม่); กำจำ (ภาคใต้); ขี้อ้าย, หานกราย (ราชบุรี); คำเจ้า, ปู่เจ้า,ปู่เจ้าหามก๋าย, พระเจ้าหอมก๋าย, พระเจ้าหามก๋าย, สลิง, หามก๋าย (ภาคเหนือ); ตานแดง (ประจวบคีรีขันธ์); แนอาม (ชอง – จันทบุรี); เบ็น (ประจวบคีรีขันธ์, สุโขทัย); ประดู่ขาว (ชุมพร); แฟบ (ประจวบคีรีขันธ์); สังคำ (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ); สีเสียดต้น, แสงคำ, แสนคำ (เลย); หนองมึงโจ่(กะเหรี่ยง – กาญจนบุรี); หอมกราย (จันทบุรี)
ชื่อวิทยาศาสตร์ :
Terminalia triptera   Stapf.
วงศ์ :
COMBRETACEAE
ชื่อสามัญ :
เกิดตามป่าดงดิบและป่าเบญจพรรณทั่วไป
ลักษณะเด่นของพืช :
ดอกออกเป็นช่อ ออกตามง่ามใบและปลายกิ่ง ดอกสีขาวอมเหลือง มีขนาดเล็ก
ลักษณะราก :
-
หามกราย
ลักษณะลำต้น :
เป็นไม้ต้นขนาดกลางถึงใหญ่ สูงถึง 30 เมตร เปลือกต้นสีน้ำตาลคล้ำ แตกเป็นร่องตามยาว เปลือกในสีแดงอมเหลืองส้ม
ลักษณะใบ :
ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม รูปรีหรือไข่กลับ ขอบขนาน ใบอ่อนมีขนนุ่ม สีน้ำตาล ปกคลุมทั้งสองด้าน
ลักษณะดอก :
ดอกออกเป็นช่อแบบเชิงลด ออกตามง่ามใบและปลายกิ่ง ดอกสีขาวอมเหลือง มีขนาดเล็ก ออกดอกเดือนมิถุนายน – สิงหาคม
ลักษณะผล :
ผลแห้งรูปรี มีปีก 4 ปีก เป็นครีบบางๆ ตามความยาวของผล ออกผลเดือนกันยายน – ตุลาคม
ประโยชน์ :
เปลือกต้น รสฝาด กล่อมเสมหะ กล่อมอาจม คุมธาตุ แก้อุจจาระเป็นฟอง สมานบาดแผล ลูก รสฝาด แก้บิด ปวดเบ่ง เสมหะเป็นพิษ แก้ท้องเดิน
ผู้บันทึกข้อมูล :
อ.ณรงค์ศักดิ์ เจริญสิทธิชัย
ดูภาพขนาดจริง :
พิมพ
รูปแบบที่ 1 | รูปแบบที่ 2

กลับหน้าเมนูหลัก

จัดทำฐานข้อมูล โดย อ.ณรงค์ศักดิ์ เจริญสิทธิชัย โรงเรียนบ้านเขาหินซ้อน(พัฒนาการภาคตะวันออก)