.

งานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน
โรงเรียนบ้านเขาหินซ้อน(พัฒนาการภาคตะวันออก) จังหวัดฉะเชิงเทรา รหัสสมาชิก 7-24120-001

ฐานข้อมูลพรรณไม้โรงเรียนบ้านเขาหินซ้อน(พัฒนาการภาคตะวันออก)

ฐานข้อมูลพรรณไม้รายต้น

มะขาม

เลขทะเบียน :
188
รหัสพรรณไม้ :
7-24120-001-188
ชื่อท้องถิ่น :
มะขาม
ลักษณะวิสัย :
ไม้ต้น
ชื่อทั่วไป :
มะขามไทย,ม่องโคล้ง(กะเหรี่ยง-กาญจนบุรี),อำเปียล(เขมร),ตะลูบ(ชาวบน-โคราช),ขาม(ใต้)
ชื่อวิทยาศาสตร์ :
Tamarindus indica   L.
วงศ์ :
LEGUMINOSAE-CAESALPINIOIDEAE
ชื่อสามัญ :
Tamarind
ลักษณะเด่นของพืช :
ใบ เป็นใบประกอบใบเล็กออกเป็นคู่เรียงตามก้านใบ ประมาณ 10-18 คู่ ลักษณะใบย่อยเป็นรูปขอบขนานปลายใบและโคนใบมน กว้าง 2.5 มม. มีสีเขียวเข้ม
ลักษณะราก :
ราก เป็นระบบรากแก้ว
มะขาม
ลักษณะลำต้น :
ต้น เป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ แตกกิ่งก้านสาขาตรงส่วนยอดของต้น ต้นใหญ่แข็งแรงมาก สูงประมาณ 7 เมตร เปลือกต้นสีน้ำตาลอ่อน ขรุขระและหนาแตกสะเก็ดเป็นร่องเล็กๆ
ลักษณะใบ :
ใบ เป็นใบประกอบใบเล็กออกเป็นคู่เรียงตามก้านใบ ประมาณ 10-18 คู่ ลักษณะใบย่อยเป็นรูปขอบขนานปลายใบและโคนใบมน กว้าง 2.5 มม. มีสีเขียวเข้ม
ลักษณะดอก :
ดอก ออกเป็นช่อเล็กๆ อยู่ตามบริเวณปลายกิ่ง ช่อหนึ่งจะมีดอกประมาณ 10-15 ดอก มีกลีบเล็กเป็น สีเหลืองและมีจุดประสีแดงอยู่ตรงกลางดอก
ลักษณะผล :
ผล เป็นฝักรูปร่างยาวหรือโค้ง ยาว 5-20 ซม. กว้าง 1-2 ซม. ฝักอ่อนมีเปลือกสีเขียวอมเทาหรือน้ำตาลเกรียมเนื้อในติดกับเปลือก เมื่อแก่ฝักเปลี่ยนเป็นเปลือกแข็ง เปราะ กรอบ หักง่าย สีเทาอมน้ำตาล หรือสีน้ำตาล ในผลมีเนื้อเยื่อแรกๆ เป็นสีเหลืองอ่อนแล้วเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลเข้มหุ้มเมล็ด เมล็ดค่อนข้างกลม ผิวเปลือกเกลี้ยงสีดำหรือสีน้ำตาลเข้ม เรียงเป็นแถวอยู่ภายในฝัก
ประโยชน์ :
ใบแก่ ขับเสมหะในลำไส้ ฟอกโลหิต ขับเลือดและลมในลำไส้ แก้บิด แก้ไอ เนื้อในฝัก กัดเสมหะ แก้ท้องผูก แก้กระหายน้ำ เปลือกเมล็ด(กะเทาะเมล็ดมะขาม) แก้ท้องร่วง คุมธาตุ แก้อาเจียน สมานแผล
ผู้บันทึกข้อมูล :
ร.ร.บ้านเขาหินซ้อน
ดูภาพขนาดจริง :
พิมพ
รูปแบบที่ 1 | รูปแบบที่ 2

กลับหน้าเมนูหลัก

จัดทำฐานข้อมูล โดย อ.ณรงค์ศักดิ์ เจริญสิทธิชัย โรงเรียนบ้านเขาหินซ้อน(พัฒนาการภาคตะวันออก)