.

งานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน
โรงเรียนบ้านเขาหินซ้อน(พัฒนาการภาคตะวันออก) จังหวัดฉะเชิงเทรา รหัสสมาชิก 7-24120-001

ฐานข้อมูลพรรณไม้โรงเรียนบ้านเขาหินซ้อน(พัฒนาการภาคตะวันออก)

ฐานข้อมูลพรรณไม้รายต้น

มะกล่ำตาหนู

เลขทะเบียน :
270
รหัสพรรณไม้ :
7-24120-001-270
ชื่อท้องถิ่น :
มะกล่ำตาหนู
ลักษณะวิสัย :
ไม้เลื้อย
ชื่อทั่วไป :
กล่ำเครือ กล่ำตาไก่ มะกล่ำแดง มะแด๊ก มะขามไฟ ตาดำตาแดง ไม้ไฟ
ชื่อวิทยาศาสตร์ :
Abrus precatorius   L.
วงศ์ :
LEGUMINOSAE-PAPILIONOIDEAE
ชื่อสามัญ :
Jequirity bean, rosary bean, Buddhist rosary bean
ลักษณะเด่นของพืช :
ผลเป็นฝักแห้งสีน้ำตาล เมล็ด ตอนปลายสีแดงสดเป็นมัน ตอนโคนประมาณ 1 ใน 3 ของเมล็ด สีดำเป็นมัน
ลักษณะราก :
-
มะกล่ำตาหนู
ลักษณะลำต้น :
เป็นพืชตระกูลถั่ว
ลักษณะใบ :
ใบออกเป็นคู่รูปขนนก มีใบย่อย 8 - 15 คู่ ขอบใบเรียบ
ลักษณะดอก :
ออกดอกเป็นช่อที่ซอกใบ กลีบดอกมีหลายสี เช่น ม่วง แดง ชมพู หรือขาว
ลักษณะผล :
ผลเป็นฝักคล้ายถั่วลันเตา ภายในฝักจะมี 3 - 5 เมล็ด เมล็ดกลมรียาวขนาด 6 - 8 มิลลิเมตร เมล็ดมีเปลือกแข็ง สีแดงสดเป็นมัน มีสีดำตรงขั้วประมาณ 1 ใน 3 ของเมล็ด
ประโยชน์ :
มะกล่ำตาหนู เป็นพืชที่ขึ้นได้ทั่วไปบริเวณประเทศในแถบเส้นศูนย์สูตร ได้แก่ ทางตอนใต้ของจีน อินเดีย ฟิลิปปินส์ ศรีลังกา ตอนใต้ของอาฟริกา และประเทศไทย เป็นต้น เมล็ด เนื่องจากเมล็ดมะกล่ำตาหนูเป็นพืชที่เมล็ดมีสีสัน งดงามสะดุดตา เมล็ดมีพิษที่รุนแรงมาก ถ้าเด็กกินเข้าไปโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ก็อาจเสียชีวิตได้ ภายในเมล็ดมะกล่ำตาหนู มีส่วนประกอบของ N-methyltryptophan, abric acid, glycyrrhizin, lipolytic enzyme และ abrin ซึ่งสูตรโครงสร้างของ abrin คล้าย ricin เป็นส่วนที่มีพิษสูงมาก หากเคี้ยว หรือกินเข้าไป เนื่องจากสารพิษจะไปทำลายเม็ดเลือดแดง ระบบทางเดินอาหาร และไต อย่างไรก็ดีสาร abrin นี้เมื่อถูกความร้อนจะสลายตัวง่าย แต่คงทนอยู่ในทางเดินอาหาร ขนาดเพียง 0.01 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม หรือกินเพียง 1 เมล็ด ก็ทำให้เสียชีวิตได้ หากสารพิษถูกผิวหนังอาจทำให้เกิดผื่นคัน หากถูกตาจะทำให้เกิดอาการระคายเคืองและอาจถึงกับตาบอดได้
ผู้บันทึกข้อมูล :
อ.ณรงค์ศักดิ์ เจริญสิทธิชัย
ดูภาพขนาดจริง :
พิมพ
รูปแบบที่ 1 | รูปแบบที่ 2

กลับหน้าเมนูหลัก

จัดทำฐานข้อมูล โดย อ.ณรงค์ศักดิ์ เจริญสิทธิชัย โรงเรียนบ้านเขาหินซ้อน(พัฒนาการภาคตะวันออก)