.

งานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน
โรงเรียนบ้านเขาหินซ้อน(พัฒนาการภาคตะวันออก) จังหวัดฉะเชิงเทรา รหัสสมาชิก 7-24120-001

ฐานข้อมูลพรรณไม้โรงเรียนบ้านเขาหินซ้อน(พัฒนาการภาคตะวันออก)

ฐานข้อมูลพรรณไม้รายต้น

รางจืด

เลขทะเบียน :
34
รหัสพรรณไม้ :
7-24120-001-34
ชื่อท้องถิ่น :
รางจืด
ลักษณะวิสัย :
ไม้เลื้อย
ชื่อทั่วไป :
กาย,รางเย็น,ดุเหว่า,ทิดพุด(ใต้),แอดแอ,ยำแย้(เหนือ)
ชื่อวิทยาศาสตร์ :
Thunbergia laurifolia   Lindl.
วงศ์ :
ACANTHACEAE
ชื่อสามัญ :
-
ลักษณะเด่นของพืช :
ออกดอกเป็นช่ออยู่ตามง่ามใบ ช่อๆหนึ่งจะมีดอก อยู่ 3-4 ดอก ห้อยระย้าลงมา ลักษณะของดอกเป็นกรวยตื้นๆ
ลักษณะราก :
-
รางจืด
ลักษณะลำต้น :
เป็นพรรณไม้เถาชนิดหนึ่ง ที่มักพบอยู่ตามชายป่าดิบ ชอบอาศัยพันเกาะเกี่ยวกับต้นไม้ใหญ่ๆ มีเถาที่แข็งแรงมาก ลักษณะของเถานั้นจะกลมเป็นปล้อง มีสีเขียว
ลักษณะใบ :
ใบเป็นใบเดี่ยว ออกดอกตรงข้ามกันเป็นคู่ๆ และขนาดของใบนั้นจะไล่กันไปขึ้นไปตั้งแต่ขนาดใหญ่ คือตรงโคนก้านใบไปหาขนาดเล็กคือปลายก้าน ใบสีเขียว ผิวเกลี้ยงลักษณะของใบเป็นรูปหัวใจ ตรงโคนใบจะเหว้า ปลายใบเป็นติ่งแหลม ใบกว้างประมาณ 2 นิ้ว ยาว 4-5 นิ้ว
ลักษณะดอก :
ออกดอกเป็นช่ออยู่ตามง่ามใบ ช่อๆหนึ่งจะมีดอก อยู่ 3-4 ดอก ห้อยระย้าลงมา ลักษณะของดอกเป็นกรวยตื้นๆ หลอดกรวยยาวประมาณ 1 ซนติเมตร แล้วตรงเส้นปลายดอกก็แยกเป็นแฉก 5 แฉก หรือ 5 กลีบ ดอกสีม่วงอ่อนๆ หรือสีคราม ดอกที่ยังอ่อนหรือไม่บานอยู่นั้นจะมีกาบหุ้มอยู่ ดอกบานเต็มที่ประมาณ 3 นิ้ว ภายในหลอดดอกเป็นสีขาวมีเกสรตัวผู้อยู่ 4 อัน ผลิดอกออก ในเดือนพฤศจิกายน - มกราคม พอดอกร่วงโรยไปก็จะติดผล
ลักษณะผล :
มีลักษณะเป็นฝักตรงปลายฝักจะแหลมคล้ายปากนก ส่วนโคนนั้นกลม ยาวประมาณ 1-1.5 นิ้ว เมื่อแก่จะแตกออกเป็น 2 ซีก
ประโยชน์ :
ปลูกเป็นไม้ประดับ รากและเถา แก้ร้อนใน กระหายน้ำใบ น้ำคั้นจากใบสด เข้า ยาเขียวแก้ไข้ ถอนพิษ และเชื่อว่าลดอาการมึนเมาได้
ผู้บันทึกข้อมูล :
ร.ร.บ้านเขาหินซ้อน
ดูภาพขนาดจริง :
พิมพ
รูปแบบที่ 1 | รูปแบบที่ 2

กลับหน้าเมนูหลัก

จัดทำฐานข้อมูล โดย อ.ณรงค์ศักดิ์ เจริญสิทธิชัย โรงเรียนบ้านเขาหินซ้อน(พัฒนาการภาคตะวันออก)