.

งานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน
โรงเรียนบ้านเขาหินซ้อน(พัฒนาการภาคตะวันออก) จังหวัดฉะเชิงเทรา รหัสสมาชิก 7-24120-001

ฐานข้อมูลพรรณไม้โรงเรียนบ้านเขาหินซ้อน(พัฒนาการภาคตะวันออก)

ฐานข้อมูลพรรณไม้รายต้น

เต่าร้าง

เลขทะเบียน :
79
รหัสพรรณไม้ :
7-24120-001-79
ชื่อท้องถิ่น :
เต่าร้าง
ลักษณะวิสัย :
ปาล์ม
ชื่อทั่วไป :
เต่ารั้ง,เขืองหลวง,เกี๋ยง(เหนือ),หมากมือ(น่าน)
ชื่อวิทยาศาสตร์ :
Caryota mitis   Lour.
วงศ์ :
ARECACEAE
ชื่อสามัญ :
Fish Tail Palm, Wart Fish Tail Palm
ลักษณะเด่นของพืช :
ใบ เป็นใบประกอบรูปขนนกสองชั้น เรียงสลับหนาแน่นที่เรือนยอด
ลักษณะราก :
-
เต่าร้าง
ลักษณะลำต้น :
ต้น เป็นพรรณไม้พวกปาล์ม สูง 5-12 เมตร ลำต้นตั้งตรงไม่แตกกิ่ง สามารถแตกหน่อบริเวณโคนต้น ลำต้นเส้นผ่าศูนย์กลางเฉลี่ยไม่เกิน 10 ซม.
ลักษณะใบ :
ใบ เป็นใบประกอบรูปขนนกสองชั้น เรียงสลับหนาแน่นที่เรือนยอดยาว 2-4 เมตร ใบย่อยมีลักษณะเป็น รูปใบพัด ขนาดกว้าง 15-35 ซม. ยาว 12-20 ซม. ปลายจักเว้าแหว่งไม่เป็นระเบียบ และมีลักษณะ ไม่แน่นอน โคนสอบเป็นรูปลิ่ม เบี้ยว
ลักษณะดอก :
ดอก ออกเป็นช่อมีขนาดเล็กสีม่วงคล้ำ ออกเป็นช่อขนาดใหญ่ตามด้านข้างของลำต้น ช่อดอกตัวผู้เกิดสลับกับช่อดอกตัวเมียภายในต้นเดียวกัน ขนาดยาว 25-50 ซม. ดอกตัวผู้มีขนาดใหญ่กว่าดอกตัวเมียมาก กลีบรองกลีบดอกมีลักษณะเป็นรูปโล่เรียงเกยซ้อนกัน กลีบดอกมีขนาดใหญ่กว่ากลีบรองกลีบดอกมาก แต่ละกลีบมีลักษณะเป็นรูปขอบขนานและเรียงเคียงกัน เกสรตัวผู้มี 15-27 อัน ดอกตัวเมียมีขนาดเล็ก กลีบรองกลีบดอกและกลีบดอกมีขนาดใกล้เคียงกัน แต่ละกลีบมีลักษณะเป็นรูปไข่กลับ
ลักษณะผล :
ผล ออกผลเป็นเม็ดเล็กๆ กลม มีลักษณะค่อนข้างกลม มีเส้นผ่าศูนย์กลาง 1-1.5 ซม. เมื่อยังอ่อนจะเป็น สีเขียวแต่พอผลแก่จะเป็นสีแดงอมดำ ตามผิวของผลนั้นจะมีขนละเอียดๆ ติดอยู่
ประโยชน์ :
ใช้หัวอ่อนๆ กินแก้ไข้จับสั่น บำรุงตับและปอด ผลแก่เอามาตำพอกแผลและผสมน้ำมะพร้าว ลูกหั่นทาแก้หิด ข้อควรระวัง ยางของพืชชนิดนี้โดยเฉพาะยางจากผล เมื่อถูกผิวหนังจะเกิดอาการคัน หรือถ้าเข้าตาอาจทำ ให้ตาบอดได้
ผู้บันทึกข้อมูล :
อ.ณรงค์ศักดิ์ เจริญสิทธิชัย
ดูภาพขนาดจริง :
พิมพ
รูปแบบที่ 1 | รูปแบบที่ 2

กลับหน้าเมนูหลัก

จัดทำฐานข้อมูล โดย อ.ณรงค์ศักดิ์ เจริญสิทธิชัย โรงเรียนบ้านเขาหินซ้อน(พัฒนาการภาคตะวันออก)