.

งานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน
โรงเรียนบ้านเขาหินซ้อน(พัฒนาการภาคตะวันออก) จังหวัดฉะเชิงเทรา รหัสสมาชิก 7-24120-001

ฐานข้อมูลพรรณไม้โรงเรียนบ้านเขาหินซ้อน(พัฒนาการภาคตะวันออก)

ฐานข้อมูลพรรณไม้รายต้น

เพกา

เลขทะเบียน :
84
รหัสพรรณไม้ :
7-24120-001-84
ชื่อท้องถิ่น :
เพกา
ลักษณะวิสัย :
ไม้ต้น
ชื่อทั่วไป :
ลิ้นฟ้า ลิ้นไม้ ลิ้นช้าง มะลดไม้ มะลิ้นไม้ ลิดไม้ หมากลิ้นฟ้า บักลิ้นฟ้า บักลิ้นงู หมากลิ้นก้าง กาโด้โด้ง ดอกะ ด๊อกกะ ดุแก เบโก
ชื่อวิทยาศาสตร์ :
Oroxylum indicum   (L.) Kurz
วงศ์ :
BIGNONIACEAE
ชื่อสามัญ :
Indian Trumpet Flower
ลักษณะเด่นของพืช :
ผล มีลักษณะเป็นฝักแบนยาวคล้ายรูปดาบห้อยลง อยู่เหนือเรือนยอดฝัก
ลักษณะราก :
ราก เป็น ระบบรากแก้ว ไม่สะสมอาหาร
เพกา
ลักษณะลำต้น :
ต้น ไม้ยืนต้นสูงประมาณ 3-20เมตร แตกกิ่งก้านน้อยกิ่งเปราะหักง่าย เปลือกลำต้นเรียบเป็นสีเทา บางครั้งพบแตกเป็นร่องตื้นเพียงเล็กน้อย มีรอยแผลเป็นขนาดใหญ่ที่เกิดจากรอยร่วงหล่นของใบ ลำต้นและกิ่งก้านมีรูระบายอากาศ (lenticel) อยู่กระจัดกระจายทั่วไป
ลักษณะใบ :
ใบ ประกอบแบบขนนก 3 ชั้น ใบเดี่ยวขนาดใหญ่ ใบเรียงตรงข้างชิดกันเป็นกระจุกที่ปลายกิ่ง ก้านใบยาว 30-200 ซม. ใบย่อยรูปไข่หรือรูปไข่แกมวงรี กว้าง 4-8 ซม. ยาว 6-12 ซม. โคนใบสอบกลมหรือรูปไตมักเบี้ยว ขอบใบเรียบ ปลายใบแหลม แผ่นใบสีเขียวเข้ม ก้านใบย่อยยาว
ลักษณะดอก :
ดอก ดอกช่อแบบ rapsule ออกที่ปลายยอดมีขนาดใหญ่ ก้านช่อดอกยาว 50-150 ซม. มีดอกย่อย 20-35 ดอก กลีบดอกสีนวลแกมเขียว โคนกลีบเป็นหลอดสีม่วงแดงหนาย่น บานกลางคืนร่วงตอนเช้า
ลักษณะผล :
ผลแบบ capsule มีลักษณะเป็นฝักแบนยาวคล้ายรูปดาบห้อยลง (pendulous) อยู่เหนือเรือนยอดฝัก ฝักกว้างประมาณ 5-6 ซม. ยาวประมาณ 60-120 ซม. ภายในฝักมีเมล็ดจำนวนมาก รูปร่างแบนบาง มีปีกที่บางใสหรือมีเยื่อบางๆ อยู่ล้อมรอบ เมล็ดกว้างประมาณ 4-6 ซม. ยาวประมาณ 7-10 ซม. ไม่มี endosperm
ประโยชน์ :
ใช้รากบำรุงธาตุ แก้ท้องร่วง เมล็ดเป็นยาระบาย
ผู้บันทึกข้อมูล :
ร.ร.บ้านเขาหินซ้อน
ดูภาพขนาดจริง :
พิมพ
รูปแบบที่ 1 | รูปแบบที่ 2

กลับหน้าเมนูหลัก

จัดทำฐานข้อมูล โดย อ.ณรงค์ศักดิ์ เจริญสิทธิชัย โรงเรียนบ้านเขาหินซ้อน(พัฒนาการภาคตะวันออก)