.
ป้ายพรรณไม้รายต้น

 
7-24120-001-253/2
ชื่อพื้นเมือง :
ขนุน
ชื่อวิทยาศาสตร์ :
Artocarpus  heterophyllus  Lam.
ชื่อวงศ์ :
MORACEAE
ชื่อสามัญ :
Jack Fruit Tree
ประโยชน์ :
ผลอ่อน ใช้ปรุงอาหาร ผลสุกเยื่อหุ้มเมล็ดมีรสหวาน เมล็ดปรุงอาหาร เนื้อไม้ ใช้ทำพื้นเรือนและสิ่งก่อสร้าง ครก สากกระเดื่อง หวี โทน รำมะนา ระนาด รากและแก่น ให้สีเหลือง ถึงเหลืองอมน้ำตาล ใช้ย้อมผ้าและแพรไหม รากนำมาปรุงเป็นยาแก้ท้องร่วง แก้ไข้ ใบ เผาไฟกับซังข้าวโพดให้ดำเป็นถ่าน แล้วใส่รวมกับก้นกะลามะพร้าวขูด โรยรักษาบาดแผล มงคล ขนุนเป็นไม้ไทยเก่าแก่ ที่คนไทยเรานิยมปลูกกันมาตั้งแต่สมัยสุโขทัยแล้ว คนไทยเกือบทุกเรือนชาน ทุกบ้านช่อง จะมีต้นขนุนอย่างน้อย 1-2 ต้น ปลูกไว้ริมรั้ว ขนุนมีหลายพันธ์ เช่น จำปาดะ และขนุนหนังเป็นต้น คนโบราณเชื่อว่า ขนุนเป็นไม้มงคลนาม คือให้ความเป็นสิริมงคลตามชื่อ จะส่งผลให้ผู้ปลูกมีบุญหนุนนำ ชีวิตจึงมีแต่ความสุขความรุ่งโรจน์ เชื่อกันว่าขนุนจะช่วยให้มีคนคอยช่วยเหลือเกื้อหนุน จะทำการสิ่งใด ก็มีคนสนับสนุนผลักดัน ให้ก้าวขึ้นสู่ความสำเร็จ หากจะทำมาค้าขาย ก็จะร่ำรวยเพราะมีคนมาอุดหนุนจุนเจือไม่ขาด ไม่ว่าจะทำกิจใด ชีวิตก็จะรุ่งเรืองมีเงินมีทองหนุนเนื่องตลอดไป เคล็ดปฏิบัติ การปลูกขนุนในบริเวณให้ได้ความเป็นสิริมงคลนั้น ควรให้ผู้เป็นหัวหน้าครอบครัวเป็นผู้ลงมือปลูก วันที่เป็นมงคลคือวันจันทร์และวันพฤหัสบดี ควรอย่างยิ่งที่จะปลูกขนุนไว้ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของบ้าน

ลงทะเบียน  25มกราคม2552
ชื่อผู้ศึกษา  อ.สำเภา วัฒนพงษ์

ป้ายพรรณไม้ แบบ QR Code

7-24120-001-253/2
ค้นหาป้ายพรรณไม้ | กลับหน้าเมนูหลัก

จัดทำฐานข้อมูล โดย อ.ณรงค์ศักดิ์ เจริญสิทธิชัย โรงเรียนบ้านเขาหินซ้อน(พัฒนาการภาคตะวันออก)